|

 |
|
 |
|
 |
|
 |
|
 |
|
|
เริ่มนับ วันที่ 14 ธ.ค. 2560 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เทศบาลตำบลหน้าพระลาน เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาล ได้รับการจัดตั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2502 และต่อมาได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเปลี่ยนแปลง แนวเขตสุขาภิบาลใหม่ ในวันที่ 11 มกราคม 2522 จนถึงปัจจุบันมีพื้นที่ทั้งหมด 9.740 ตารางกิโลเมตร และต่อมาได้มีพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะ จากสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ.2542 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 9 ก วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542 มีผลให้สุขาภิบาลยกฐานะเป็นเทศบาลตำบล ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 เป็นต้นไป |
|
|
|
|
|
เทศบาลตำบลหน้าพระลาน ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี อยู่ทางทิศเหนือของอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ห่างจากศาลากลางจังหวัดสระบุรี ประมาณ 20 กิโลเมตร ห่างจากอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี ประมาณ 10 กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ระยะทางประมาณ 128 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 9.740 ตารางกิโลเมตร |
|
|
|
 |
 |
 |
|
|
|
 |
ทิศเหนือ |
ติดต่อกับ |
อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี |
 |
|
ทิศใต้ |
ติดต่อกับ |
อบต.พุแค อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี |
|
 |
ทิศตะวันออก |
ติดต่อกับ |
อบต.หน้าพระลาน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี |
 |
|
ทิศตะวันตก |
ติดต่อกับ |
อบต.เขาวง อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี |
|
|
|
     |
|
 |
 |
 |
|
|
|
|
พื้นที่ของเทศบาลตำบลหน้าพระลาน กว่าร้อยละ 50 เป็นภูเขา ได้แก่ เขาใหญ่ เขางอบ เขาพาดแอก ซึ่งเป็นแหล่งอุตสาหกรรมเกี่ยวกับหิน เนื่องจากมีแร่ธาตุสำคัญหลายแห่ง เช่น หินอ่อน หินปูน หินลูกรัง และหินที่ใช้ในการก่อสร้าง สำหรับพื้นที่ราบส่วนใหญ่เป็นที่อยู่อาศัย โรงงานอุตสาหกรรมและการพาณิชยกรรม
|
|
|
|
|
|
เทศบาลตำบลหน้าพระลาน มีลักษณะอากาศแบบฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดู ซึ่งลักษณะภูมิอากาศแบบนี้จะมีฝนน้อย แห้งแล้งในฤดูหนาวและมีอุณหภูมิค่อนข้างสูงในฤดูร้อน ค่อนข้างหนาวเย็นในฤดูหนาว และมีฝนตกชุกในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม |
|
|
|
|
|
การประกอบอาชีพในเขตเทศบาลมีการประกอบอาชีพที่หลากหลาย แต่ส่วนใหญ่จะมี อาชีพรับจ้างในโรงงานอุสาหกรรมในเขตเทศบาลตำบลหน้าพระลาน ได้แก่ โรงโม่หิน เหมืองหิน โรงงานปูนขาว โรงงานกลึงหินอ่อน โรงงานแต่งแร่ โรงงานหินอ่อน เป็นต้น |
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
|
|
|
|
|
จำนวนประชากรทั้งหมด 8,040 คน แยกเป็น |
|

 |
ชาย จำนวน 4,038 คน |
คิดเป็นร้อยละ 50.22 |
|

 |
หญิง จำนวน 4,002 คน |
คิดเป็นร้อยละ 49.78 |
|
ความหนาแน่นเฉลี่ย 825.462 คน/ตารางกิโลเมตร |
|
|
|
|
 |
หมู่ที่ |
|
|
จำนวนประชากร |
ชาย |
หญิง |
รวม |
|
 |
|
1 |
|
|
345 |
322 |
667 |
|
 |
2 |
|
|
699 |
690 |
1,389 |
 |
|
3 |
|
|
515 |
508 |
1,023 |
|
 |
7 |
|
|
1,446 |
1,445 |
2,891 |
 |
|
8 |
|
|
1,033 |
1,037 |
2,070 |
|
 |
|
|
รวม |
4,038 |
4,002 |
8,040 |
 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|